ทฤษฎีสี
รูปด้านล่างวงล้อความสัมพันธ์ของสี ซึ่งบรรจุสีที่นิยมใช้ในเว็บไซต์ไว้ 20
สี เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังเลือกสีที่จะใช้ในเว็บไซต์อยู่เราสามารถใช้ความ
สัมพันธ์ของวงล้อขอสีนี้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างมากมาย เช่น
ต้องการออกแบบให้เว็บไซต์รู้สึกตัดกันโดยสิ้นเชิง เราอาจใช้ชุดสี 4
สีที่ทำมุมกัน 90 องศา เช่นดังตัวอย่างถ้าเราเลือกชุดสี 1 , 6
, 11 , 16 สีที่ได้จะตัดกันชัดเจน
ถ้าต้องการให้เว็บไซต์ดูกลมกลืนก็อาจเลือกชุดสีใกล้เคียงกันก็ได้เช่น
เลือกชุดสีเขียวเบอร์ 8 , 9 , 10
, 11 ก็จะได้สีในโทนสีเขียวสว่าง
หลักการใช้สี
การ ใช้สีกับงานออกมานั้น อยู่ที่นักออกแบบมีจุดมุ่งหมายใด
ที่จะสร้างความสนใจ ความเร้าใจต่อผู้ดูเพื่อให้เข้าถึงจุดหมายที่ตนต้องการ
หลักของการใช้มีดังนี้
ความหมายของสีวรรณะเดียว (tone) คือกลุ่มสีที่แบ่งออกเป็นวงล้อของสีเป็น 2 วรรณะ คือ
วรรณะร้อน (warm tone) ซึ่งประกอบด้วย สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีม่วง สีเหล่านี้ให้อิทธิพล
ต่อความรู้สึก ตื่นเต้น เร้าใจ กระฉับกระเฉง ถือว่าเป็นวรรณะร้อน
วรรณะเย็น (cool tone) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน สีม่วง สีเหล่านี้ดู เย็นตา
ให้ความรู้สึก สงบ สดชื่น (สีเหลืองกับสีม่วงอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ)
การใช้สีแต่ละครั้งควรใช้สีวรรณะเดียวในภาพทั้งหมด เพราะจะทำให้ภาพความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
(เอกภาพ) กลมกลืน มีแรงจูงใจให้คล้อยตามได้มาก
หลักการทั่วไป ใช้อัตราส่วน 80% ต่อ 20% ของวรรณะสี คือ ถ้าใช้สีวรรณธร้อน
80% สีวรรณะเย็นก็ 20%
เป็นต้น ซึ่งการใช้แบบนี้สร้างจุดสนใจของผู้ดู
ไม่ควรใช้อัตราส่วนที่เท่ากันเพราะจะทำให้ไม่มีสีใดเด่น ไม่น่าสนใจ
3.การใช้สีตรงกันข้าม
สี ตรงข้ามจะทำให้ความรู้สึกที่ตัดกันรุนแรง
สร้างความเด่น และเร้าใจได้มากแต่หากใช้ไม่ถูกหลัก หรือ ไม่เหมาะสม
หรือใช้จำนวนสีมากสีจนเกินไป ก็จะทำให้ความรุ้สึกพร่ามัว ลายตา ขัดแย้ง
ควรใช้สีตรงข้าม ในอัตราส่วน 80% ต่อ20% หรือหากมีพื้นที่เท่ากันที่จำเป็นต้องใช้
ควรนำสีขาว หรือสีดำ เข้ามาเสริม เพื่อ ตัดเส้นให้แยกออก จาก
กันหรืออีกวิธีหนึ่งคือการลดความสดของสีตรงข้ามให้หม่นลงไป
สีตรงข้ามมี 6 คู่ได้แก่
สีเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วง
สีแดง ตรงข้ามกับ สีเขียว
สีน้ำเงิน ตรงข้ามกับ สีส้ม
สีเขียวเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงแดง
สีส้มเหลือง ตรงข้ามกับ สีม่วงน้ำเงิน
สีส้มแดง ตรงข้ามกับ สีเขียวน้ำเงิน
การใช้สีตัดกัน ควรคำนึงถึงความเป็นเอกภาพด้วย
วิธีการใช้มีหลายวิธี เช่น
ใช้สีให้มีปริมาณต่างกัน เช่น ใช้สีแดง 20 %
สีเขียว 80% หรือ
ใช้เนื้อสีผสมในกันและกัน
หรือใช้สีหนึ่งสีใดผสมกับสีคู่ที่ตัดกัน ด้วยปริมาณเล็กน้อย
รวมทั้งการเอาสีที่ตัดกันมาทำให้เป็นลวดลายเล็ก
ๆ สลับกัน
ใน ผลงานชิ้นหนึ่ง
อาจจะใช้สีให้กลมกลืนกันหรือตัดกันเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรืออาจจะใช้พร้อมกันทั้ง 2 อย่าง ทั้งนี้แล้วแต่ความต้องการ
และความคิดสร้างสรรค์ของเรา ไม่มีหลักการ หรือรูปแบบที่ตายตัว ใน งานออกแบบ หรือการจัดภาพ
หากเรารู้จักใช้สีให้มีสภาพโดยรวมเป็นวรรณะร้อน หรือวรรณะเย็น เราจะ สามารถควบคุม
และสร้างสรรค์ภาพให้เกิดความประสานกลมกลืน งดงามได้ง่ายขึ้น
เพราะสีมีอิทธิพลต่อมวล ปริมาตร และช่องว่าง สีมีคุณสมบัติที่ทำให้เกิดความกลมกลืน
หรือขัดแย้งได้ สีสามารถขับเน้นให้ให้เกิดจุดเด่น และการรวมกันให้เกิดเป็นหน่วยเดียวกันได้
เราในฐานะผู้ใช้สีต้องนำหลักการต่างๆของสีไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้อง
กับเป้าหมายในงานของเรา เพราะสีมีผลต่อการออกแบบ คือ
สร้างความรู้สึก สี ให้ความรู้สึกต่อผู้พบเห็นแตกต่างกันไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และภูมิหลัง
ของแต่ละคนสีบางสีสามารถรักษาบำบัดโรคจิตบางชนิดได้ การใช้สีภายใน หรือภายนอกอาคาร
จะมีผลต่อการ สัมผัส และสร้างบรรยากาศได้
สร้างความน่าสนใจ สีมีอิทธิพลต่องานศิลปะการออกแบบ จะช่วยสร้างความประทับใจ
และความน่าสนใจเป็นอันดับแรกที่พบเห็น
สีบอกสัญลักษณ์ของวัตถุ ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ หรือภูมิหลัง เช่น
สีแดงสัญลักษณ์ของไฟ หรืออันตราย สีเขียวสัญลักษณ์แทนพืช หรือความปลอดภัย เป็นต้น
สีช่วยให้เกิดการรรับรู้ และจดจำ
งานศิลปะการออกแบบต้องการให้ผู้พบเห็นเกิดการจดจำ ในรูปแบบ และผลงานหรือเกิดความประทับใจ
การใช้สีจะต้องสะดุดตา และมีเอกภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น